วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ที่มาระบบการแปลออนไลน์ช่วยอนุรักษ์ภาษาม้ง

ชุมชนคนม้งในสหรัฐกำลังร่วมมือกับบริษัทไมโครซอฟท์บรรจุภาษาม้งเข้าไปในระบบการแปลทางออนไลน์เพื่ออนุรักษ์ภาษาม้ง
Hmong+Tranlation 1+%282%29 ที่มาระบบการแปลออนไลน์ช่วยอนุรักษ์ภาษาม้ง
คุณชือ เฮ่อ อายุ 65 ปี เป็นชาวม้ง เขาอพยพจากลาวเมื่อปีพุทธศักราช 2526 อาศัยที่เมืองเฟรสโน่ รัฐแคลิฟอร์เนีย เกือบทุกวัน เขาจะนั่งพิมพ์คำภาษาม้ง 10 ถึง 20 คำลงในคอมพิวเตอร์ พร้อมคำแปลภาษาอังกฤษ เพื่อบรรจุเข้าไปในโปรแกรมการแปลทางออนไลน์ของบริษัทไมโครซอฟท์ นี่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการอนุรักษ์ภาษาม้งที่คุณชือ เฮ่อกับชุมชนชาวม้งในในสหรัฐกังวลว่ากำลังจะสาปสูญ

icon download ที่มาระบบการแปลออนไลน์ช่วยอนุรักษ์ภาษาม้งDownload: MP3

เขาเชื่อว่าหากไม่บรรจุภาษาม้งและคำแปลเป็นภาษาอังกฤษเข้าไว้ในระบบการแปลทางออนไลน์ เขามั่นใจว่าภาษาม้งจะสาปสูญแน่นอน
คุณชือ เฮ่อ เติบโตในลาว สามารถพูด อ่านและเขียนภาษาม้งที่เป็นภาษาแม่ได้คล่อง
หลังจากอพยพมาอยู่รัฐแคลิฟอร์เนียเกือบ 30 ปีที่แล้ว เขาเริ่มต้นชีวิตครอบครัว มีลูก 4 คนและหลานอีก 11 คน
เขาบอกว่าเริ่มกังวลเพราะหลานไม่พูดภาษาม้งแล้ว เขาจึงเห็นว่าโครงการแปลภาษาม้งทางออนไลน์จะช่วยให้ลูกหลานคนม้งในอเมริกา และในต่างประเทศได้เรียนรู้ภาษาประเทศแม่ของตน
ชาวม้งเป็นชนกลุ่มน้อยจากพื้นที่ราบสูงทางใต้ของจีนและพื้นที่ภูเขาใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชาวม้งร่วมมือกับสหรัฐในช่วงสงครามเวียดนามและชาวม้งจำนวนมากต้องอพยพออกจาก พื้นที่บ้านเกิดตามชายแดนเวียดนามลาว มาอยู่ที่อเมริกาในช่วง 40 กว่าปีที่แล้ว ทุกวันนี้ มีชาวม้ง 260,000 คนอาศัยอยู่ในอเมริกา
คุณพง หยาง ผู้ประสานงานโครงการอนุรักษ์ภาษาม้ง บอกกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่า ภาษาม้งเริ่มมีคนใช้น้อยลงเรื่อยๆเพราะลูกหลานชาวม้งรุ่นใหม่ๆเกิดและโตใน ต่างประเทศ
เขาบอกว่าชาวม้งรุ่นที่สองไม่ได้เรียนภาษาแม่ของตนมากนักและไม่สามารถพูด ภาษาของตนได้คล่อง จึงจำเป็นต้องหาวิธีการสมัยใหม่เข้ามาช่วยเพื่อรักษาภาษาม้งเอาไว้ เพื่อคนทั่วไปรู้จักและเพื่อส่งเสริมให้คนม้งที่พูดภาษาม้งได้ยังคงพูดภาษา ของตนต่อไปด้วยความภาคภูมิใจ
คุณหยางตัดสินใจกระโดดเข้าร่วมมือในโครงการแปลภาษาม้งทันที ที่บริษัทไมโครซอฟท์ติดต่ิอเขาเมื่อปีที่แล้ว โครงการนี้ได้บรรจุภาษาม้งเข้าไปในระบบการแปลทางออนไลน์ของไมโครซอฟท์เป็น ภาษาอันดันที่ 38
คุณหยางกล่าวว่าโครงการอนุรักษ์ภาษาม้งยังเป็นไปได้ในตอนนี้ เพราะยังพอมีคนม้งรุ่นปู่ย่าที่ยังพูด อ่าน เขียน ภาษาม้งได้คล่องเหลืออยู่ แต่หากรอไปอีก 15 หรือ 20 ปีข้างหน้า โดยไม่ทำอะไร โอกาสอนุรักษ์ภาษาม้งจะน้อยลง
คุณวิล ลูอิส เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิจัยของบริษั ทไมโครซอฟท์ กล่าวว่า โครงการแปลภาษาม้งเพิ่มความสำคัญขึ้นอย่างมากเพราะคนม้งมีส่วนร่วมอย่างจริง จัง อาสาสมัครชาวม้งได้พิมพ์คำเข้าไปในระบบแล้วถึงสี่หมื่นคำ
สำหรับอาสาสมัครอย่างคุณชือ เฮ่อ โครงการอนุรักษ์ภาษาม้งคุ้มค่าทั้งเวลาและเรี่ยวแรง เขาหวังว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่จะมีส่วนช่วยอนุรักษ์ประวัติศาสตร์ของคนม้ง อย่างตัวเขาไว้ให้ลูกหลานในอนาคตได้เรียนรู้เว็บม้งต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ประวัติม้งไทย





ประวัติและความเป็นมา (History of the Hmong people)
      ยังไม่มีผู้ใดสามารถสรุปได้ว่าชนชาติม้งมาจากที่ไหน แต่สันนิษฐานกันว่าม้งคงจะอพยพมาจากที่ราบสูงธิเบต ไซบีเรีย และมองโกเลีย เข้าสู่ประเทศจีน และตั้งหลักแหล่งอยู่แถบลุ่มแม่น้ำเหลือง (แม่น้ำฮวงโห) เมื่อราว 3,000 ปีมาแล้ว ซึ่งชาวเขาเผ่าม้งจะตั้งถิ่นฐานอยู่ในมณฑลไกวเจา ฮุนหนำ กวางสี และมณฑลยูนาน ม้งอาศัยอยู่ในประเทศจีนมาหลายศตรรษ จนกระทั่ง ประมาณคริสตศตวรรษที่ 17 ราชวงค์แมนจู (เหม็ง) มีอำนาจในประเทศจีน กษัตริย์จีนในราชวงค์เหม็งได้เปลี่ยนนโยบายเป็นการปราบปราม เพราะเห็นว่าม้งที่เป็นผู้ชายส่วนใหญ่แล้วรูปร่างหน้าตาคล้ายกับคนรัสเซีย ทำให้คนจีนคิดว่า ม้งเป็นคนรัสเซีย จึงเป็นเหตุให้มีการปราบปรามม้งเกิดขึ้น โดยให้ชาวม้งยอมจำนน และยอมรับวัฒนธรรมของจีน และอีกประการหนึ่งคือเห็นว่า ม้งเป็นพวกอนารยชนแห่งขุนเขา (คนป่าเถื่อน) จึงได้มีการต่อสู้กันอย่างรุนแรงในหลายแห่ง เช่น ในเมืองพังหยุนในปี พ.ศ.2009 และการต่อสู้ในมณฑลไกวเจาในระหว่าง พ.ศ. 2276 - 2278 และการต่อสู้ในมณฑลเสฉวนในระหว่าง พ.ศ. 2306 – 2318
      ในที่สุด ชาวม้งประสบกับความพ่ายแพ้ สูญเสียพลรบ และประชากรเป็นจำนวนมาก ในที่สุดม้งก็เริ่มอพยพถอยร่นสู่ ทางใต้ และกระจายเป็น
กลุ่มย่อย ๆ กลับขึ้นอยู่บนที่สูงป่าเขาในแคว้นสิบสองจุไทย สิบสองปันนา และอีกกลุ่มได้อพยพไปตามทิศตะวันออกเฉียงเหนือของราชอาณาจักรลาว
บริเวณทุ่งไหหินเดียนเบียนฟู โดยมีหัวหน้าม้งคนหนึ่ง คือ นายพลวังปอ ได้ราบรวมม้ง และอพยพเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อประมาณ พ.ศ. 2400 เศษ เป็นต้นมา
      ปัจจุบันชาวม้งส่วนใหญ่ในประเทศไทย ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามภูเขาสูง หรือที่ราบเชิงเขาในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ ลำปาง กำแพงเพชร เลย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย และตาก มีจำนวนประชากรทั้งสิ้นประมาณ 151,080 คน

ม้งดำ หรือม้งเขียว หรือม้งน้ำเงิน

ม้งลาย หรือม้งกั๊วมะบา


ที่มา http://www.hilltribe.org/thai/hmong/