วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ที่มาระบบการแปลออนไลน์ช่วยอนุรักษ์ภาษาม้ง

ชุมชนคนม้งในสหรัฐกำลังร่วมมือกับบริษัทไมโครซอฟท์บรรจุภาษาม้งเข้าไปในระบบการแปลทางออนไลน์เพื่ออนุรักษ์ภาษาม้ง
Hmong+Tranlation 1+%282%29 ที่มาระบบการแปลออนไลน์ช่วยอนุรักษ์ภาษาม้ง
คุณชือ เฮ่อ อายุ 65 ปี เป็นชาวม้ง เขาอพยพจากลาวเมื่อปีพุทธศักราช 2526 อาศัยที่เมืองเฟรสโน่ รัฐแคลิฟอร์เนีย เกือบทุกวัน เขาจะนั่งพิมพ์คำภาษาม้ง 10 ถึง 20 คำลงในคอมพิวเตอร์ พร้อมคำแปลภาษาอังกฤษ เพื่อบรรจุเข้าไปในโปรแกรมการแปลทางออนไลน์ของบริษัทไมโครซอฟท์ นี่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการอนุรักษ์ภาษาม้งที่คุณชือ เฮ่อกับชุมชนชาวม้งในในสหรัฐกังวลว่ากำลังจะสาปสูญ

icon download ที่มาระบบการแปลออนไลน์ช่วยอนุรักษ์ภาษาม้งDownload: MP3

เขาเชื่อว่าหากไม่บรรจุภาษาม้งและคำแปลเป็นภาษาอังกฤษเข้าไว้ในระบบการแปลทางออนไลน์ เขามั่นใจว่าภาษาม้งจะสาปสูญแน่นอน
คุณชือ เฮ่อ เติบโตในลาว สามารถพูด อ่านและเขียนภาษาม้งที่เป็นภาษาแม่ได้คล่อง
หลังจากอพยพมาอยู่รัฐแคลิฟอร์เนียเกือบ 30 ปีที่แล้ว เขาเริ่มต้นชีวิตครอบครัว มีลูก 4 คนและหลานอีก 11 คน
เขาบอกว่าเริ่มกังวลเพราะหลานไม่พูดภาษาม้งแล้ว เขาจึงเห็นว่าโครงการแปลภาษาม้งทางออนไลน์จะช่วยให้ลูกหลานคนม้งในอเมริกา และในต่างประเทศได้เรียนรู้ภาษาประเทศแม่ของตน
ชาวม้งเป็นชนกลุ่มน้อยจากพื้นที่ราบสูงทางใต้ของจีนและพื้นที่ภูเขาใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชาวม้งร่วมมือกับสหรัฐในช่วงสงครามเวียดนามและชาวม้งจำนวนมากต้องอพยพออกจาก พื้นที่บ้านเกิดตามชายแดนเวียดนามลาว มาอยู่ที่อเมริกาในช่วง 40 กว่าปีที่แล้ว ทุกวันนี้ มีชาวม้ง 260,000 คนอาศัยอยู่ในอเมริกา
คุณพง หยาง ผู้ประสานงานโครงการอนุรักษ์ภาษาม้ง บอกกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่า ภาษาม้งเริ่มมีคนใช้น้อยลงเรื่อยๆเพราะลูกหลานชาวม้งรุ่นใหม่ๆเกิดและโตใน ต่างประเทศ
เขาบอกว่าชาวม้งรุ่นที่สองไม่ได้เรียนภาษาแม่ของตนมากนักและไม่สามารถพูด ภาษาของตนได้คล่อง จึงจำเป็นต้องหาวิธีการสมัยใหม่เข้ามาช่วยเพื่อรักษาภาษาม้งเอาไว้ เพื่อคนทั่วไปรู้จักและเพื่อส่งเสริมให้คนม้งที่พูดภาษาม้งได้ยังคงพูดภาษา ของตนต่อไปด้วยความภาคภูมิใจ
คุณหยางตัดสินใจกระโดดเข้าร่วมมือในโครงการแปลภาษาม้งทันที ที่บริษัทไมโครซอฟท์ติดต่ิอเขาเมื่อปีที่แล้ว โครงการนี้ได้บรรจุภาษาม้งเข้าไปในระบบการแปลทางออนไลน์ของไมโครซอฟท์เป็น ภาษาอันดันที่ 38
คุณหยางกล่าวว่าโครงการอนุรักษ์ภาษาม้งยังเป็นไปได้ในตอนนี้ เพราะยังพอมีคนม้งรุ่นปู่ย่าที่ยังพูด อ่าน เขียน ภาษาม้งได้คล่องเหลืออยู่ แต่หากรอไปอีก 15 หรือ 20 ปีข้างหน้า โดยไม่ทำอะไร โอกาสอนุรักษ์ภาษาม้งจะน้อยลง
คุณวิล ลูอิส เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิจัยของบริษั ทไมโครซอฟท์ กล่าวว่า โครงการแปลภาษาม้งเพิ่มความสำคัญขึ้นอย่างมากเพราะคนม้งมีส่วนร่วมอย่างจริง จัง อาสาสมัครชาวม้งได้พิมพ์คำเข้าไปในระบบแล้วถึงสี่หมื่นคำ
สำหรับอาสาสมัครอย่างคุณชือ เฮ่อ โครงการอนุรักษ์ภาษาม้งคุ้มค่าทั้งเวลาและเรี่ยวแรง เขาหวังว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่จะมีส่วนช่วยอนุรักษ์ประวัติศาสตร์ของคนม้ง อย่างตัวเขาไว้ให้ลูกหลานในอนาคตได้เรียนรู้เว็บม้งต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น